1.1 คำสั่ง ls : ใช้แสดงรายชื่อแฟ้มทั้งหมดใน home directory
-------------------------------------------------------------------------------- ทุกท่านที่มี account ใน linux จะมี home directory ของตนเอง เพื่อใช้เก็บแฟ้มต่าง ๆ ภายใต้ระบบ linux เมื่อต้องการทราบว่ามีแฟ้มอะไรที่เก็บไว้บ้าง สามารถใช้คำสั่ง ls ได้ และสามารถกำหนด parameter ได้หลายตัว เช่น -al --sort เป็นต้น ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน
ls -alt :: เพื่อแสดงรายชื่อแฟ้มทั้งหมด และจัดเรียงตามเวลา ให้ลองลบอักษรออกทีละตัวจาก alt ดูนะครับ ls -alt | more :: เพื่อแสดงรายชื่อแฟ้มทั้งหมด แต่หยุดทีละหน้า เมื่อมีจำนวนแฟ้มเกินที่จะแสดงได้ ใน 1 หน้า ls -al --sort=time | more :: แสดงรายชื่อแฟ้มเรียงตามเวลา แยกทีละหน้า โดยละเอียด ls -R | more :: แสดงรายชื่อในทุก directory ในห้องปัจจุบัน ถ้าสังเกตนะครับ แฟ้มที่มี . หน้าชื่อแฟ้ม จะหมายถึงแฟ้มที่ซ่อนไว้ ถ้าใช้คำสั่ง ls หรือ ls -l จะไม่เห็นแฟ้มเหล่านี้ ถ้ามีอักษร D ที่ Column แรก ในตอนแสดงชื่อแฟ้ม ด้วยคำสั่ง ls -al ก็จะหมายถึง directory ไม่ใช่แฟ้มธรรมดา
-------------------------------------------------------------------------------- 1.3 คำสั่ง man : เป็นคำสั่งที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยให้อธิบายคำสั่งต่าง ๆ ให้ท่านได้ (Manual) -------------------------------------------------------------------------------- ผมเชื่อว่าทุกคนที่ใช้ unix หรือ linux ต้องเคยใช้คำสั่งนี้มาก่อน เพราะจะเป็นคำสั่งที่ช่วยอธิบายหน้าที่ของคำสั่ง พร้อมกับแสดง parameter ที่สามารถใช้ได้ทั้งหมดของคำสั่งนั้น และยังมีตัวอย่างการใช้ และคำสั่งที่เกี่ยวข้องอีก ทำให้ประหยัดเวลาในการค้นเอกสารได้อย่างมาก บางท่านอาจศึกษา linux ด้วยการอ่านจาก man อย่างเดียวเลยก็มีนะครับ โดยไม่ต้องไปหาซื้อหนังสือที่ไหนมาอ่านก็ทำได้ ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน man man :: เพื่ออธิบายคำสั่ง man เอง ว่าตัวคำสั่งนี้ใช้อย่างไร man ls :: เพื่ออธิบายคำสั่ง ls ว่าใช้อย่างไร man useradd :: เพื่ออธิบายคำสั่ง useradd ว่าใช้อย่างไร
-------------------------------------------------------------------------------- 1.4 คำสั่ง mkdir, rmdir, cd : งานต่าง ๆ เกี่ยวกับ directory -------------------------------------------------------------------------------- ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่ใช้ dos มาก่อนต้องคุ้นเคยกับ directory แน่นอน สำหรับคำสั่งเกี่ยวกับ directory ในที่นี้มี 3 คำสั่ง mkdir หมายถึง สร้าง directory (Make directory) rm หมายถึง ลบ directory (Remove directory) และคำสั่งนี้ยังใช้ลบแฟ้มตามปกติได้อีกด้วย cd หมายถึงเปลี่ยน directory (Change directory) ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน mkdir hello :: สร้าง directory ชื่อ hello ในห้องปัจจุบัน rmdir hello.htm :: จะลบแฟ้มชื่อ hello.htm cd / :: ย้าย directory ไปยัง root หรือห้องนอกสุด cd .. :: ย้าย directory ออกไปข้างบน 1 ระดับ cd ~/x :: เข้าไปยังห้อง x ของ home directory เช่น /home/thaiall/x ถ้า home directory คือ /home/thaiall
-------------------------------------------------------------------------------- 1.5 โปรแกรม pico : เป็น editor ที่ใช้สำหรับแก้ไขแฟ้มแบบ text คล้าย vi แต่มีประสิทธิภาพกว่ามาก -------------------------------------------------------------------------------- เพียงแต่พิมพ์คำว่า pico แล้ว enter ก็ใช้งานได้เลย การจะจัดเก็บ หรืองานต่าง ๆ ที่มีบริการไว้มากมาย ท่านสามารถอ่านได้จากเมนูด้านล่าง ซึ่งเครือ่งหมาย ^ หมายถึงการกดปุ่ม Ctrl ประกอบอักษรต่าง ๆ นั่นเอง ผมคิดว่าท่านน่าจะพออ่านรู้เรื่อง หรือจะพิมพ์ว่า pico xx ก็จะเป็นการสร้างแฟ้มชื่อ xx ให้ทันที แต่หากมีแล้ว ก็จะเปิดแฟ้ม xx มาให้แก้ไขในโปรแกรม xx เมื่อท่านต้องการเลิกก็ทำได้โดยกดปุ่ม Ctrl-X เป็นอันเรียบร้อย หากท่านใดเคยใช้ vi เมื่อลองใช้โปรแกรมนี้จะติดใจอย่างแน่นอน เพราะใช้งานได้ง่ายกว่า หลายเท่านัก หลายครั้ง ที่พิมพ์คำว่า pico แล้วไม่มีในเครื่อง ก็เพราะไม่ได้ลงโปรแกรม pine เมื่อต้องการใช้ pico ก็ต้องติดตั้งโปรแกรม pine เข้าไปในเครื่อง จากแผ่น CD ด้วยคำสั่ง rpm -i pine* -------------------------------------------------------------------------------- 1.6 โปรแกรม emacs : เป็น editor ที่ใช้สำหรับแก้ไขแฟ้มแบบ text คล้าย vi แต่มีประสิทธิภาพกว่ามาก -------------------------------------------------------------------------------- ทำงานได้คล้าย ๆ กับ pico แต่หลายคนบอกว่า ตัวนี้ทำงานได้ดีกว่า แต่ผมว่า pico ใช้งานได้ง่ายกว่ากันเยอะเลย เพราะเห็นเมนูด้านล่าง แต่ของ emacs จะใช้ ctrl-h ดูส่วนช่วยเหลือ และกด ctrl-x + ctrl-c จึงจะออกจากโปรแกรม อาจเป็นเพราะผมใช้ไม่ชำนาญมังครับ ในเมื่อผมใช้ pico เป็น editor ผมคงไม่จำเป็นต้องศึกษา emacs เพิ่มเติมแล้ว ยกเว้นว่าสักวันอาจมีเหตุจำเป็นที่ความสามารถของ pico ให้ไม่ได้ แต่ emacs ให้ได้ก็เป็นได้ Welcome to GNU Emacs, one component of a Linux-based GNU system. Get help C-h (Hold down CTRL and press h) Undo changes C-x u Exit Emacs C-x C-c Get a tutorial C-h t Use Info to read docs C-h i Ordering manuals C-h RET Activate menubar F10 or ESC ` or M-` (`C-' means use the CTRL key. `M-' means use the Meta (or Alt) key. If you have no Meta key, you may instead type ESC followed by the character.)
-------------------------------------------------------------------------------- 1.7 โปรแกรม vi : เป็น editor ที่ใช้สำหรับแก้ไขแฟ้มแบบ text -------------------------------------------------------------------------------- Text editor ที่ใช้งานได้ยาก แต่มีใน linux ทุกรุ่น ในบางเครื่องไม่มี pico เพราะไม่ได้ติดตั้ง mail หรือ pine จึงจำเป็นต้องใช้โปรแกรม vi สำหรับแก้ไขข้อมูลในแฟ้มต่าง ๆ ของ linux เช่นการใช้คำสั่ง man ก็คือการใช้ความสามารถของ vi ในการนำข้อมูลมาแสดงผลนั่นเอง ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน esc กลับไปยังโหมดคำสั่ง enter ย้ายไปยังต้นบรรทัดของบรรทัดถัดไป i ใส่ข้อความก่อนเคอร์เซอร์ a ใส่ข้อความหลังเคอร์เซอร์ A ใส่ข้อความที่ท้ายบรรทัดปัจจุบัน dd ลบบรรทัดปัจจุบันทั้งบรรทัด x ลบอักษร 1 ตัวอักษร cw เปลี่ยนข้อความ :w บันทึกแฟ้ม :q! ออกโดยไม่ เปลี่ยนแปลงใด ๆ :wq บันทึกแฟ้ม และออกจากโปรแกรม vi
ดูผลบางส่วนจากการทำงานของคำสั่ง xinetd -d Service configuration: ftp id = ftp flags = IPv4 socket_type = stream Protocol (name,number) = (tcp,6) Nice = 10 Groups = no Bind = All addresses. Server = /usr/sbin/vsftpd Server argv = vsftpd Only from: All sites No access: No blocked sites Logging to syslog. Facility = authpriv, level = info Log_on_success flags = HOST PID Log_on_failure flags = HOST
-------------------------------------------------------------------------------- 1.19 คำสั่ง nslookup : แสดงข้อมูลเกี่ยวกับ name server จาก ip หรือ domain name --------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------- 1.21 คำสั่ง telnet : ใช้ติดต่อเข้า server ต่าง ๆ ตาม port ที่ต้องการ แต่ปัจจุบัน server ต่าง ๆ ปิดบริการ telnet แต่เปิด SSH แทน --------------------------------------------------------------------------------
ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน telnet 202.202.202.202 :: ขอติดต่อเข้าเครื่อง 202.202.202.202 การไม่กำหนด port คือเข้า port 23 telnet www.school.net.th 21 :: ขอติดต่อผ่าน port 21 ซึ่งเป็น FTP port telnet mail.loxinfo.co.th 25 :: ตรวจ smtp ว่าตอบสนองกลับมา หรือไม่ telnet class.yonok.ac.th 110 :: ทดสอบ pop service ของ windows server 2003 Microsoft Windows POP3 Service Version 1.0 ready. USER aa@class.yonok.ac.th +OK PASS xxxxxxx +OK User successfully logged on
-------------------------------------------------------------------------------- 2.7 คำสั่ง tar : ใช้สำหรับแตกแฟ้มที่ถูกบีบอัด แล้วนามสกุล tar --------------------------------------------------------------------------------
ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน tar xvf x.tar :: ใช้สำหรับแตกแฟ้มที่นามสกุล tar ปกติแล้วจะมีการสร้าง directory ของแฟ้มพร้อมโปรแกรมอีกเพียบ tar xvfz squid-2.3-200103110000-src.tar.gz :: จะคลาย gz พร้อมกับใช้คำสั่ง tar ได้พร้อม ๆ กัน ไม่ต้องใช้ gzip และมาใช้ tar man tar :: ใช้ดูว่า tar ใช้งานอะไรได้บ้าง tar zcvf abc.tar.gz /etc :: ใช้ copy /etc เก็บเป็นแฟ้ม abc.tar.gz แบบบีบอัด tar zxvf abc.tar.gz :: ใช้คลายแฟ้ม abc.tar.gz ซึ่งจะได้ directory /etc ออกมาทั้งหมด
-------------------------------------------------------------------------------- 2.8 คำสั่ง last : ใช้แสดงรายชื่อผู้ login เข้ามาล่าสุด --------------------------------------------------------------------------------
ตัวอย่างคำสั่ง และการใช้งาน last |grep reboot :: ใช้ดูระบบถูก reboot เมื่อใดบ้าง last |more :: ใช้รายชื่อผู้ login เข้ามาในระบบล่าสุดทีละหน้า